อะหลั่ยแอร์ ส่วนประกอบแอร์บ้าน

ช่างแอร์ปทุมธานี-ซ่อมแอร์-ขายแอร์

ความรู้ แนะนำ อะหลั่ย ส่วนประกอบ แอร์บ้าน

เครื่องปรับอากาศสามารถแยกตามระบบการทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ตามการติดตั้ง คือ

1. ส่วนที่ติดตั้งภายในบ้าน (Indoor Unit) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนทำให้อากาศภายในห้องเย็นลงหรือเรียกว่า คอยล์เย็น (Evaporator) ประกอบด้วยท่อ แผงคอยเย็น พัดลม และอุปกรณ์วัด และควบคุมอุณหภูมิห้อง

2. ส่วนที่ติดตั้งภายในบ้าน (Outdoor Unit) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการระบายความร้อนหรือที่เรียกว่า คอยล์ร้อน (Condensing), ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของน้ำยาทำความเย็นหรือที่เรียกว่า คอมเพรสเซอร์ และน้ำยาแอร์ และอีกส่วนทำหน้าที่ในการลดความดัน และอุณหภูมิของน้ำยาแอร์หรือที่เรียกว่า อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device)

หากแบ่งตามหน้าที่การทำงาน สามารถแบ่งส่วนประกอบของแอร์ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. คอยล์เย็น (Evaporator)
เป็นชุดของแอร์ที่ถูกติดตั้งภายในห้องหรืออาคารประกอบด้วยแผงคอยล์เย็นที่ติดกับส่วนท่อน้ำยาแอร์ที่บรรจุน้ำยาแอร์ไหลเวียนภานในส่งต่อไปยังคอมเพรสเซอร์โดยขณะไหลเวียนผ่านท่อจะมีพัดลมคอยดูดอากาศภายในห้องจากด้านล่างเครื่องผ่านท่อ และแผงคอยล์เย็นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อน และผ่านอากาศเย็นออกมายังช่องแอร์ในด้านปลาย มีส่วนประกอบ ดังนี้

     1.1 แผงคอยล์เย็น มีรูปร่างเป็นเส้นท่อขดไปมาตามความยาวของเครื่อง และจะมีแผ่นครีบอลูมิเนียมบางๆ หุ้มขดท่อเหล่านั้นอยู่ แผงขดท่อจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อถอดหน้ากากส่งลม หรือหน้ากากรับลมกลับของเครื่องออก

1.2 มอเตอร์พัดลมคอยล์เย็น มีใบพัดลมคอยล์เย็นเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเคลื่อนที่ของลม โดยได้กำลังมาจากมอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำชนิด 1 เฟส ทำหน้าที่กระจายลมเย็นให้กับพื้นที่ที่ต้องการการปรับอากาศ
     1.3 ชุดควบคุมระบบปรับอากาศ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคมการทำงานของเครื่องปรับอากาศ โดยทั่วไประบบปรับอากาศรุ่นใหม่ๆ จะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาควบคุมระบบการทำงาน ซึ่งการควบคุมแบบอิเล็กทรอนิกส์จะมีความเที่ยงตรงสูงกว่าแบบเก่าที่ใช้กลไกทางกลในการควบคุม

1.4 อุปกรณ์ควบคุมแรงดันสารทำความเย็น การควบคุมปริมาณสารความเย็นในระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนใช้การควบคุมโดยท่อรูเข็ม (Capillary Tube – Cap. Tube) โดยติดตั้งระหว่างคอนเดนเซอร์กับอีวาปอเรเตอร์ ทำหน้าที่ลดแรงดันและควบคุมปริมาณสารทำความเย็นก่อนเข้าคอยล์เย็น

2. คอยล์ร้อน (Condensing)
เป็นชุดของแอร์ที่ถูกติดตั้งภายนอกอาคารเหมือนกัน ประกอบด้วยแผงคอยล์ร้อนหรือที่เรียกว่า อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) มีลักษณะเป็นท่อทองแดงขนาดเล็ก ขดเป็นแผงไปมาอยู่ด้านหลังถัดจากใบพัดลม และอีกส่วนจะเป็นพัดลมที่ช่วยในการระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ ทำให้น้ำยาแอร์มีอุณหภูมิลดลง แต่ความดันคงที่ก่อนไหลเวียนเข้าสู่แผงคอยล์เย็นเพื่อลดอุณหภมิในห้องต่อไป

     2.1 คอมเพรสเซอร์ และน้ำยาแอร์ (Evaporator)  
เป็นส่วนอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งนอกอาคารด้านข้างพัดลมระบายความร้อน ทำหน้าที่ในการเก็บ และควบคุมการไหลเวียนของน้ำยาแอร์ในระบบ และทำให้น้ำยาแอร์มีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้นก่อนส่งผ่านไปยังตามท่อของส่วนคอยล์ร้อนต่อไป

     2.2 แผงคอยล์ร้อน มีลักษณะเป็นท่ออลูมิเนียมหรือทองแดงขนาดเล็ก ขดไปมาเป็นแผงอยู่ภายใน คีบอลูมิเนียมแผ่นเล็กๆเรียงซ้อนกัน ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สำหรับระบายความร้อนของสารทำความเย็นที่ส่งผ่านมาจากคอมเพรสเซอร์

2.3 มอเตอร์พัดลมคอยล์ร้อน เป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำ 1 เฟส ทำหน้าที่เป็นตัวระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นก๊าซ ให้มีสถานะเป็นของเหลวเพื่อส่งผ่านเข้าสู่อุปกรณ์ควบคุมแรงดันสารทำความเย็น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *